การตรวจเลือดสด หยดเดียว วินัจฉัยโรคได้จริงหรือไม่

ตรวจเลือดสดหยดเดียว วินิจฉัยโรคได้จริงหรือหลอก

ข้อคิดเห็นจากอนุกรรมการศึกษาและพัฒนาวิชาการ

จากกรณีข่าวฮอตเกี่ยวกับการตรวจเลือดสดเพียงหยดเดียว (Live Blood Cell Analysis: LBA) ก็สามารถรับรู้ถึงสภาวะโรคต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็นแล้ว แถมซ้ำหลังกินวัตถุเสริมอาหารบางอย่างที่บริษัทแนะนำเข้าไป ไม่กี่ชั่วโมงอาการโรคต่างๆก็กลับดีขึ้นทันตาเห็น!! 

การตรวจวินิจฉัยโรคแบบนี้ประชาชนควรจะเชื่อหรือไม่ 

เป็นเรื่องของ “วิชาการลวงโลก” หรือไม่

หรือ มีความถูกต้องทางวิชาการเพียงใด และ เป็นที่ยอมรับตามหลักสากลหรือไม่

วันนี้ สภาเทคนิคการแพทย์ โดยอนุกรรมการการศึกษาและพัฒนาวิชาการ มีข้อมูลแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบเพิ่มเติม เพื่อท่านจะตัดสินใจด้วยตัวท่านเอง ว่าท่านควรจะใช้บริการต่อไปหรือหยุดใช้ดี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีกระแสการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่าการตรวจเลือดสด Live Blood Cell Analysis (LBA) เข้ามาให้บริการกับประชาชน โดยมีการประชาสัมพันธ์ในลักษณะที่ว่า “การดูลักษณะเม็ดเลือดในเลือดสดเพียงหยดเดียวด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด กล้องพื้นหลังมืด (dark field) สามารถระบุว่ามีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกายได้” และมีการสื่อสารข้อมูลผ่านเว็ปไซต์และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการตรวจวินิจฉัยในหลากหลายมิติ อาทิ
 
1. การวิเคราะห์ความสมบูรณ์ทางชีวภาพของเม็ดเลือด ภาวะเลือดผิดปกติ ภาวะเลือดจาง
2. การมีสารโลหะหนักสะสมในร่างกาย
3. แนวโน้มในการเป็นภูมิแพ้และความไม่สมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน
4. ความเป็นพิษในระบบทางเดินอาหาร ตับ ไต
5. การตรวจวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียและพยาธิแอบแฝง
6. การบ่งชี้สารอนุมูลอิสระในเลือด
7. การมีไขมันตกค้างในระบบไหลเวียนโลหิต
8. ภาวะการขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด
9. ความผิดปกติในระบบฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย

ทั้งนี้ มีการอธิบายและให้ข้อมูลประกอบในหลายประการ เช่น
      – ในเมแทบอลิซึมของโปรตีนและความไม่สมดุลของกรดด่างในเลือด ทำให้ตรวจพบปรากฏการณ์ของการเรียงตัวของเม็ดเลือดแดงที่ซ้อนทับกันเป็นสาย หรือที่เรียกศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ว่า การเกิด rouleaux formation
– การกินอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณกรดมากเกินไป ทำให้พบเซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ที่เรียกว่า macrocyte
      – ภาวะที่มีการสะสมของกรดในเนื้อเยื่อหรือในของเหลวภายนอกเซลล์ และการที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดของเสียที่เป็นกรดที่สะสมในเลือดอันเกิดจากการแตกทำลายของเซลล์ ทำให้พบเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะคล้ายการมีหนามยื่นออกมารอบเซลล์ ซึ่งเรียกว่า echinocytes
       – การกินอาหารที่มีไขมันสูง มีระดับโคเลสเทอรอลในเลือดสูง และมีความไม่สมดุลของสารไขมันในเลือด ทำให้พบเม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกัน (red blood cell aggregation)
       – การพบเศษชิ้นส่วนที่มีรูปร่างเป็นแท่ง ที่เรียกว่า fibrous thallus ในเลือด บ่งชี้ว่ามีเชื้อแบคทีเรียยีสต์ และเชื้อราในเลือด
       – การพบแบคทีเรียที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงและพบในเลือด บ่งชี้ว่ามีการสะสมของกรดในเนื้อเยื่ออันเนื่องมาจากอาหารที่เป็นกรด ความเครียดทางอารมณ์หรือทางร่างกาย มีผลทำให้เลือดมีการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยจะพบ fibrin speculae เพิ่มขึ้นระหว่างการดีท็อกซ์ด้วยโปรแกรมการล้างพิษเต็มรูปแบบ และการควบคุมอาหารที่ได้ผล เพราะร่างกายกำลังดึงกรดที่เก็บไว้ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันกลับเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปกำจัดต่อไป
       – การพบ Cholesterol plaque ในเลือด บ่งชี้ภาวะความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงตีบตัน และไขมันสูงเป็นต้น
จากข้อมูลและคำอธิบายดังกล่าวการที่เทคนิคตรวจเลือดสด LBA มีรากฐานมาจากการส่องเลือดสดด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังมืด dark field (dark field microsccope) ที่มีการแสดงผลภาพขึ้นบนจอมอนิเตอร์แล้วทำการเลื่อนกล้องเพื่อดูในพื้นที่บริเวณต่างๆของหยดเลือดซึ่งหากพิจารณาตามหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์โดย dark field microscopy นั้น จะพบว่ากล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังมืด (dark field) เป็นการตรวจที่อาศัยหลักการแสงตกกระทบด้านข้างของวัตถุ (ซึ่งแตกต่างจากการส่องผ่านด้านล่างของวัตถุตามหลักกการของกล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสง bright field ที่ใช้กันทั่วไป) จึงทำให้พื้นหลัง (background) เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด dark field มีความมืดในขณะที่วัตถุจะสว่างทำให้เห็นลักษณะภายนอกได้ชัดเจนแต่จะไม่เห็นรายละเอียดภายในของวัตถุ ดังนั้นในทางการแแพทย์จึงมักใช้กล้องจุลทรรศน์แบบพื้นหลังมืด dark field ในการตรวจแบคทีเเรียชนิดที่มีรูปร่างเป็นเกลียว (sppirochete) ขณะที่ยังมีชีวิตซึ่งมีรูป ร่างแและลักษณะการเคลื่อนไหวที่จำเพาะกอปรกับกล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ไม่สามารถใช้ดูรายละเอียดภายในของวัตถุได้เหมือนกับการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง bright fiield อีกทั้งกำลังขยายสูงสุดของกล้องจุลทรรศน์แบบพื้นหลังมืด dark field ที่ใช้ในการตรวจตัวอย่างสดคือ 400 เท่า เพราะฉะนั้นในทางการแพทย์จึงไม่ได้ประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังมืด dark field เป็นหลักในการตรวจวินิจฉัยโรค
 
ในขณะที่กระบวนการตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดตามที่ระบุในข้อ 1 ที่เป็นไปตามมาตรฐานงานทางเทคนิคการแพทย์นั้น การตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์หรือความผิดปกติของเม็ดเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์จะไม่ใช้เลือดสดแต่จะตรวจวิเคราะห์จากเลือดที่เตรียมเป็นแผ่นฟิล์มเลือด (blood smear) แล้วย้อมด้วยสีที่เหมาะสมก่อนนำมาดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสงแบบ bright field ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆ ของเซลล์ทั้งภายนอกและภายในได้อย่างชัดเจน (ดังแสดงตัวอย่างตามมภาพ) โดยสามารถจำแนกลักษณะความผิดปกติของขนาดรูปร่าง การเรียงตัวของเม็ดเลือดแดง และการตกตะกอนของสารบางชนิดภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า inclusion ชนิดต่างๆ รวมทั้งการตรวจพบเชื้อมาลาเรียที่อยู่ภายในเม็ดเลือดแดงได้สำหรับในส่วนของเม็ดเลือดขาวก็สามารถแยกชนิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมทั้งยังสามารถบ่งชี้ถึงลักษณะที่ผิดปกติในเม็ดเลือดขาวได้อีกด้วยสำหรับเกล็ดเลือดนอกจากขนาดและรูปร่างแล้วยังบอกได้ถึงปริมาณของ granules ด้วยซึ่งการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานนี้จะทำให้ประชาชนได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้องและแม่นยำ
สำหรับประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอื่นๆตามที่กล่าวถึงในข้อ 2-9 นั้นอาทิการวิเคราะห์โลหะหนัก ฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน และ/หรือจุลชีพรวมทั้งปรสิตที่อยู่ในเลือดซึ่งหากอ้างอิงตามมาตรฐานงานทางเทคนิคการแพทย์นั้น จะเป็นการตรวจวิเคราะห์โดยวิธีการเฉพาะด้าน คือการตรวจทางพิษวิทยาเพื่อวิเคราะห์ปริมาณไอออน (ion) ของโลหะหนักในเลือด การตรวจทางเคมีคลินิกเพื่อวิเคราะห์หาระดับฮอร์โมนและสารนํ้าอื่นๆ การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาเพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายการตรวจทางจุลชีววิทยา และ/หรือปรสิตวิทยาเพื่อเพาะเชื้อและวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบหรืออวัยวะต่างๆ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าหลักการทดสอบแบบตรวจเลือดสด LBA นั้นยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือเพียงพอจากข้อมูลที่มีการให้บริการตรวจเลือดสดในต่างประเทศพบว่าในปีค.ศ. 2002 แพทย์ที่ทำการรักษาโดยไม่ใช้ยา (naturopath) ชาวออสเตรเลีย ถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกปรับในฐานที่แอบอ้างว่าสามารถวินิจฉัยโรคจากการทำการตรวจเลือดสด LBA ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อและถูกสั่งห้ามประกอบวิชาชีพตลอดชีวิต  (ที่มา http://www.smh.com.au/news/national/naturopath-banned-forlife/2008/04/02/1206851011905.html) ต่อมาในปีค.ศ. 2005 มีหน่วยงานที่ชื่อว่า State of Rhode Island, Providence Plantations, Department of Health, Division of Professional regulation ได้สั่งให้ผู้นวดจัดกระดูก (chiropractor) หยุดการใช้การตรวจเลือดสด LBA และ State Board of Examiners in Chiropractic Medicineได้ออกประกาศว่าการตรวจเลือดสด LBA เป็นการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่มีประโยชน์และจัดเป็นการตรวจที่แสวงหาผลประโยชน์ (ที่มา https://www.casewatch.org/board/chiro/martin.shtml) รวมถึงในปีค.ศ. 2011 หน่วยงานที่ชื่อว่า General Medical Council ประเทศสหราชอาณาจักรได้ระงับใบประกอบวิชาชีพของแพทย์ที่ใช้การตรวจเลือดสด LBA ในการวินิจฉัยผู้ป่วย Lyme disease (ที่มา “MPTS Fitness to Practise Panel, 17th Oct – 2nd Nov 2011 & 6th – 8th Aug 2012” Medical Practitioners Tribunal Service) (Highlight comment admin 21/11/2560 13:42:25 blank)
 
 
ในตอนท้ายของข้อมูลเชิงวิชาการ อนุกรรมการการศึกษาฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะมีการใช้ LBA กันมานาน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะในต่างประเทศในกรณีที่ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรค ซึ่งเมื่อพิจารณาด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ มีการยืนยันที่แน่ชัดเกี่ยวกับการแปลผลการตรวจวิเคราะห์และที่สำคัญไม่ใช่ศาสตร์และแนวปฏิบัติตาม มาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ดังนั้น ผู้ที่จะนํา LBA ไปใช้ในการวินิจฉัยโรคหรือภาวะผิดปกติต่างๆ ของ ร่างกาย รวมทั้งผู้รับบริการ ควรต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาอย่างยิ่ง

About the Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may also like these

No Related Post