ความเป็นมา
ในระยะแรกการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องเป็นไปตามพระราช บัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 โดยมีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะเป็นผู้ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และไม่ให้มีผู้แสวงหาผลประโยชน์หรือใช้วิชาชีพโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ต่อมามีการออกพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ เพื่อให้การประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรที่มีบทบาทควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และส่งเสริมความ ก้าวหน้า ของวิชาชีพ คณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ ควบคุม ส่งเสริม พัฒนาและกำหนดมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ การดำเนินงานของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคนิคการแพทย์ยังอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการออกพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ โดยพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2547* ตามพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 ได้มีการแยกอำนาจการควบคุมการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ออกจากอำนาจของคณะ กรรมการการประกอบโรคศิลปะ และให้มีสภาเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่ส่งเสริมการประกอบวิชาชีพ กำหนดและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพและควบคุมมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้ อันก่อให้เกิดภัยและความเสียหายแก่ประชาชน
สัญลักษณ์สภาเทคนิคการแพทย์

โลโก้ของสภาเทคนิคการแพทย์ เป็นรูปคฑาไม้สีทอง มีพญานาคสีทองพันรอบไม้คฑาเป็นรูปตัวอักษร “ท” อยู่กลางวงรีพื้นสีน้ำเงิน มี พ.ศ. 2547 ปีก่อตั้งเป็นตัวอักษรสีขาว พื้นวงรีนอกเป็นสีแดงเลือดนก (สีของวิชาชีพ) มีตัวอักษรสีขาวชื่อสภาเทคนิคการแพทย์ ทั้งไทยและอังกฤษ
อธิบายว่า สัญญาลักษณ์ พญานาคสีทอง หรืองูใหญ่ เป็นสัตว์ที่มีความยิ่งใหญ่ งูเป็นสัญญาลักษณ์ของวงการแพทย์ พันเป็นตัวอักษร “ท” หมายถึง “เทคนิคการแพทย์ “ คฑา เป็นเครื่องหมายที่ใช้ชี้นำ นำพา
สรุป ความหมายว่า วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ คือความยิ่งใหญ่ของการค้นหา/ตรวจหาสาเหตุหรือต้นตอซึ่งจะชี้นำในการดูแลรักษาสุขภาพทุกทิศทาง
กรรมการสภาเทคนิคการแพทย์
1. กรรมการโดยตำแหน่ง 2 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนายกสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
2. กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์หรือคณบดีคณะที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น หรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตเทคนิค การแพทย์ เลือกกันเองให้เหลือ 5 คน
3. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 3 คน กระทรวงกลาโหม 1 คน และกรุงเทพมหานคร 1 คน
4. กรรมการที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากสมาชิก จำนวน 12 คน
*ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 121 ตอนพิเศษ 65 ก ลงวันที่ 22 ตุลาคม
กรรมการสภาเทคนิคการแพทย์วาระที่ 6
รศ.ทนพ.สมชาย วิริยะยุทธกร | ที่ปรึกษา |
นางวารุณี สุรนิวงศ์ | ที่ปรึกษากฎหมาย |
ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ | นายกสภาเทคนิคการแพทย์ |
ทนพญ.ศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล | อุปนายกสภาเทคนิคการแพทย์ คนที่ 1 |
รศ.ดร.ทนพญ.ปาลนี อัมรานนท์ | อุปนายกสภาเทคนิคการแพทย์ คนที่ 2 |
ทนพญ.สมจิตร์ จินาภักดิ์ | เลขาธิการ |
ทนพญ.จิรายุ ผาผ่อง | รองเลขาธิการ |
ทนพญ.ทัศนีย์ สกุลดำรงค์พานิช | เหรัญญิก |
ผศ.ดร.ทนพ.ลิขิต ปรียานนท์ | ประชาสัมพันธ์ |
ทนพญ.วรางคณา อ่อนทรวง | ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
รศ.ดร.ทนพ.พิทักษ์ สันตนิรันดร์ | นายกสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย |
ศ.ดร.ทนพ.สาคร พรประเสริฐ | คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ศ.ดร.ทนพ.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา | คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผศ.ดร.ทนพ.ยุทธนา หมั่นดี | คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา |
รศ.ดร.ทนพญ.จุรีรัตน์ ดาดวง | คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ทนพญ.ภาวิตา สุวรรณวัฒนะ | ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข |
ทนพญ.นันทวรรณ เมฆา | ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข |
ทนพญ.วัชรี จรูญวัชร | ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข |
พันเอกศุภโชค ตรรกนันท์ | ผู้แทนกระทรวงกลาโหม |
ทนพญ.หัทยา ธัญจรูญ | ผู้แทนกรุงเทพมหานคร |
ทนพญ.วรรณิกา มโนรมณ์ | กรรมการจากการเลือกตั้ง |
รศ.ดร.ทนพญ.ปรียานาถ วงศ์จันทร์ | กรรมการจากการเลือกตั้ง |
ศ.ดร.ทนพ.สุพรรณ ฟู่เจริญ | กรรมการจากการเลือกตั้ง |
รศ.ดร.ทนพ.เกรียงไกร กิจเจริญ | กรรมการจากการเลือกตั้ง |
ทนพ.นิทัศน์ น้อยจันอัด | กรรมการจากการเลือกตั้ง |
นาวาโทเศรษฐพงศ์ ธิมาหาร | กรรมการจากการเลือกตั้ง |